เมนู

สติปัฏฐาน 4 เอา เทสแห่งสติปัฏฐาน คือเวทนา-
นุปัสนา, ฌาน 4 เอกเทสแห่งฌาน คือสุข-
เวทนาและอุเบกขาเวทนา, นามรูป เอกเทสแห่ง
นามรูป คือเวทนาเจตสิก.

ธรรมทั้งปวงมีกุศลธรรมเป็นต้น, เอกเทสแห่งธรรม คือเวทนา
ชื่อว่า ปเทสวิหาระ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเวทนานั้นนั่นแล.

44. อรรถกถาสัญญาวิวัฏญาณุทเทส


ว่าด้วย สัญญาวิวัฏญาณ


เพราะเหตุที่ปุถุชนและพระเสกขบุคคลทั้งหลาย เมื่อเจริญญาณ
อันสำเร็จแล้วด้วยสมาธิภาวนา กระทำภาวนาธรรมที่ควรเจริญนั้น ๆ
ให้เป็นอธิบดี ให้เป็นใหญ่ พิจารณาธรรมทั้งหลายที่ตรงกันข้ามกับ
ภาวนาธรรมนั้น มีสภาวะต่าง ๆ มีโทษเป็นเอนก โดยความเป็นธรรม
มีโทษ แล้วตั้งจิตไว้ด้วยสามารถแห่งภาวนาธรรมนั้น ๆ ก็ย่อมละปัจ-
นิกธรรมเหล่านั้น ๆ เสียได้, และเมื่อละก็เห็นสังขารธรรมทั้งปวงโดย
ความเป็นของว่างในกาลแห่งวิปัสสนาภายหลัง ย่อมละได้ด้วยสมุจเฉท-
ปหาน, ก็แลเมื่อละอยู่อย่างนั้น ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลายละได้
ด้วยการตรัสรู้ในขณะเดียว, พระอริยะทั้งหลายแม้ทั้งปวง ย่อมปฏิบัติ

ตามควรด้วยอาการทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั่นแล, ฉะนั้นพระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรจึงยกญาณทั้ง 6 มีสัญญาวิวัฏญาณเป็นต้น ขึ้นแสดง
ต่อจากปเทสวิหารญาณตามลำดับ ณ บัดนี้.
ในสัญญาวิวัฏญาณนั้น คำว่า อธิปตตฺตา ปญฺญา - ปัญญา
มีกุศลเป็นอธิบดี
ความว่า ปัญญาที่กระทำกุศลธรรมมีเนกขัมมะ
เป็นต้น ให้เป็นธรรมอันยิ่งโดยความเป็นแห่งอธิบดีแห่งกุศลธรรมทั้ง-
หลายมีเนกขัมมะเป็นต้น แล้วเป็นไปโดยความเป็นธรรมอันยิ่งในกุศล-
ธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น.
คำว่า สญฺญาวิวฏฺเฏ ญาณํ - ญาณในความหลีกออกจาก
นิวรณ์ด้วยสัญญา
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า การหลีกออก การหมุนออก
ความเป็นผู้หันหลังให้นิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ได้ด้วยสัญญา ฉะนั้น
จึงชื่อว่า สัญญาวิวัฏฏะ, ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์มีกามฉันทะ
เป็นต้นนั้น ๆ ด้วยสัญญาที่กระทำภาวนาธรรมนั้น ๆ ให้เป็นอธิบดี เป็น
เหตุ เป็นกรณะ.
สัญญา แม้จะมิได้กล่าวไว้ว่า เอตฺโต วิวฏฺโฏ - หมุนกลับ
จากภาวนาธรรมนี้
แต่ก็เป็นเหตุให้สัญญาหมุนกลับ เหมือนอย่าง
วิวัฏนานุปัสสนา.
ก็สัญญานั้น มีความจำอารมณ์ เป็น ลักษณะ,

มีการจำอารมณ์ได้และทำนิมิตไว้ เป็น กิจ เหมือนช่างไม้ ทำ
เครื่องหมายไว้ที่ไม้เป็นต้น,
มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนคนตา
บอดคลำช้าง, อีกอย่างหนึ่ง มีการตั้งอยู่ไม่นานเพราะหยั่งลงในอารมณ์
เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนสายฟ้าแลบ,
มีอารมณ์ที่กำหนดไว้ เป็น ปทัฏฐาน เหมือนสัญญาในหุ่นที่
ทำด้วยหญ้าเกิดแก่ลูกเนื้อว่า เป็นบุรุษ.

45. อรรถกถาเจโตวิวัฏญาณุทเทส


ว่าด้วย จโตวิวัฏญาณ


คำว่า นานตฺเต ปญฺญา - ปัญญาในนานัตตธรรม ความว่า
ปัญญาที่เป็นไปแล้วในสภาวธรรมต่าง ๆ โดยความเป็นภาเวตัพพธรรม-
ธรรมที่ควรเจริญ และในสภาวธรรมอื่น มีกามฉันทะเป็นต้น โดย
เห็นว่าเป็นธรรมมีโทษ.
และคำว่า นานตฺเต เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตต-
สัตตมี, อีกอย่างหนึ่ง ละความเป็นต่าง ๆ ชื่อว่า นานัตตะ, อธิบายว่า
เหตุแห่งการละนานัตตธรรม เป็นนิมิตแห่งการละนานัตตธรรม เป็น
ปัญญาในกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้น.